วันเสาร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

การเขียนรายงานทางวิชาการ

การเขียนรายงานทางวิชาการ
..........บทนำ>>>ในการที่จะศึกษาการเขียนรายงานทางวิชาการนั้น จะต้องเข้าใจเกี่ยวกับความความหมายของรายงาน ประเภทของรายงาน วัตถุประสงค์ในการเขียนรายงาน ลักษณะที่ดีของรายงานว่าเป็นอย่างไร และรวมถึงลักษณะสำคัญของรายงานทางวิชาการ การใช้ภาษาในการเขียนรายงาน การเขียนย่อหน้า การเขียนประโยค และรวมถึงการบอกแหล่งที่มาของข้อมูลอีกด้วย
..........ความหมายของรายงาน>>>รายงาน หมายถึง การศึกษาค้นคว้าเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซึ่งเรียบเรียงแล้วเขียนหรือพิมพ์ขึ้น ให้ถูกต้องตามแบบแผนที่กำหนด อาจศึกษาค้นคว้าในเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยวิธีใดวิธีหนึ่งที่ผู้เรียนสนใจ หรือเป็นเรื่องที่ผู้สอนกำหนดให้ศึกษาค้นคว้า รายงานเป็นกิจกรรมสำคัญอย่างหนึ่งของการศึกษาในปัจจุบัน และถือเป็นส่วนหนึ่งของการประเมินผลการศึกษา การทำรายงานอาจทำเป็นรายบุคคล หรือเป็นกลุ่มก็ได้ ความยาวของรายงานขึ้นอยู่กับขอบเขตของหัวข้อรายงาน และระยะเวลาในการทำรายงาน
..........ประเภทของรายงาน> รายงานโดยทั่วๆไปแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่คือ
>>>1. รายงานทั่วไป เป็นรายงานข้อเท็จจริง หรือข้อคิดของบุคคลเกี่ยวกับข่าว เหตุการณ์ต่างๆ ความเคลื่อนไหวของบุคคลสำคัญ หรือสถาณการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งดำเนินไปแล้วหรือกำลังดำเนินอยู่ หรือที่จะดำเนินต่อไปได้แก่
>>>>>1.1) รายงานแสดงผลงาน ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่รายงานผลการปฏิบัติงาน ต่อผู้บังคับบัญชาหรือผู้เกี่ยวข้อให้ทราบ
>>>>>1.2) รายงานเหตุการณ์ เป็นรายงานที่บอกให้ทราบเรื่องราวต่างๆ ทุกระยะถ้ามีเหตุการณ์ใดๆเกิดขึ้นจะได้แก้ไขได้ทันท่วงที
>>>2. รายงานวิชาการ เป็นรายงานที่ได้จากการศึกษาวิจัย โดยมีระเบียบวิธีการศึกษาที่เป็นระบบ และมีลักษณะเป็นวิทยาศาสตร์ เนื้อหารายงานมุ่งเสนอแต่ผลที่ได้จาก การศึกษาโดยปราศจากการเสริมแต่ง แบ่งเป็น 2 ประเภทได้แก่
>>>>>2.1) รายงานการค้นคว้าทั่วไป แยกได้ 2 ชนิดดังนี้
>>>>>>>(2.1.1) รายงาน หมายถึง ความเรียงทางวิชาการเป็นกิจกรรมอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นผลมาจากการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ หรือ เป็นผลจากการศึกษาค้นคว้าจากการหาความรู้ใหม่ เพื่อปรับปรุง พิสูจน์ความรู้เดิมโดยวิธีใดวิธีหนึ่ง หรือ หลายวิธี ทั้งนี้เพื่อให้เห็นข้อเท็จจริงที่เชื่อถือได้ และนำข้อมูลที่ค้นคว้าได้มาประกอบเข้ากับความคิดของตน แล้วเรียบเรียงขึ้นใหม่โดยนำมาเขียน หรือพิมพ์ให้ถูกต้องตามแบบแผน การทำรายงานอาจทำเป็นบุคคลหรือกลุ่มก็ได้ ความยาวของรายงานขึ้นอยู่กับขอบเขตของหัวข้อรายงาน และการตกลงกันระหว่างผู้ทำรายงานและผู้สอนวิชานั้น
>>>>>>>(2.1.2) ภาคนิพนธ์ มีลักษณะเช่นเดียวกับรายงาน แต่หัวข้อที่กำหนดภาคนิพนธ์มักจะมีขอบเขตกว้างขวาง และลึกซึ้งกว่าหัวข้อรายงาน ซึ่งต้องการเวลาค้นคว้ามากกว่า มีความยาวของเรื่องที่เขียนยาวกว่ารายงาน และมีกำหนดเวลาประมาณหนึ่งภาคเรียน
>>>>>2.2) รายงานการค้นคว้าวิจัย แยกได้ 2 ชนิดดังนี้
>>>>>>>(2.2.1) การวิจัยทั่วไป หมายถึง กระบวนเสาะแสวงหาความรู้ใหม่ๆ หรือกระบวนการเสาะแสวงหาความรู้เพื่อตอบปัญหาที่มีอยู่อย่างมีระบบ และมีวัตถุประสงค์ที่แน่นอน โดยอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์>>>>>>>(2.2.2) วิทยานิพนธ์หรือปริญญานิพนธ์ เป็นรายงานผลการวิจัยอันเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญามหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิต หัวข้อในการทำปริญญานิพนธ์จะมีลักษณะเข้มงวดแตกต่างไปจากรายงาน และภาคนิพนธ์ทั้งในด้านคุณภาพและปริมาณ เช่น ต้องเป็นหัวข้อที่แสดงความริเริ่ม จะต้องมีขอบเขตกว้างขวางลึกซึ้ง
............วัตถุประสงค์ในการเขียนรายงาน
>>>1. ส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดการศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเอง
>>>2. ก่อให้เกิดทักษะในการค้นหาความรู้จากแหล่งความรู้ประเภทต่างๆ
>>>3. ฝึกการอ่านหนังสือและสิ่งพิมพ์ต่างๆ (อ่านได้เร็วและรู้จักการจดบันทึก)
>>>4. ส่งเสริมการสร้างลักษณะที่ดีในการอ่าน
>>>5. สามารถเขียนรายงานประกอบการเรียนได้อย่างถูกต้องตามแบบแผน และเป็นพื้นฐานในการศึกษาชั้นสูงต่อไป
>>>6. ใช้เป็นส่วนหนึ่งในการประเมินผลของแต่ละวิชา
............ลักษณะของรายงานที่ดี
>>>1. แสดงให้เห็นว่าผู้เขียนได้ศึกษาค้นคว้าอย่างจริงจัง กว้างขวาง และมีเนื้อเรื่องครบถ้วนตามหัวข้อที่กำหนด
>>>2. มีความถูกต้อง เทียงตรง และแม่นยำ
>>>3. ต้องมีลักษณะต่อไปนี้อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกัน
>>>>>3.1 ผู้เขียนแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของเรื่องที่กำลังศึกษาอยู่
>>>>>3.2 แสดงว่าผู้เขียนมีความเข้าใจแจ่มแจ้งในเรื่องที่เขียน อาจเป็นแนวทางการศึกษาค้นคว้า เรื่องนั้นให้กว้างขวางและลึกซึ้งต่อไป
>>>>>3.3 มีแนวทางที่แก้ไขปัญหาที่กำลังศึกษาอยู่
>>>4. จัดเรียงลำดับของเนื้อหาอย่างต่อเนื่อง มีความสัมพันธ์กันเป็นอย่างดี เมื่อกล่าวถึงสิ่งใดก็มีหลักฐานอ้างอิงอย่างเพียงพอ และ สมเหตุผล ตลอดจนมีความสามารถในการกลั่นกลอง และสรุปความรู้ความคิดที่ได้จากแหล่งต่างๆ
>>>5. แสดงให้เห็นว่าผู้เขียนมีความคิดสร้างสรรค์ที่เป็นของตนเอง
>>>6. แสดงหลักฐานที่มีอย่างละเอียดถี่ถ้วน
>>>7. ใช้ภาษาได้ถูกต้องได้ผลตามจุดมุ่งหมาย และเป็นภาษาที่นิยมใช้กันทั่วไป
ที่มา...